วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

@ เมืองโบราณ สมุทรปราการ แบบชิวๆๆ สบายๆๆ (1 วัน)

คุณ เคยมีความคิดฝันซักครั้งในชีวิตบ้างมั้ยว่าอยากจะเที่ยวไปตามสถานที่ สำคัญต่างๆ ให้ทั่วประเทศบ้าง แต่พอคิดอีกทีก็คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากซะเหลือเกิน เพราะต้องอาศัยทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อย่างเพิ่งถอดใจกันซะก่อน เพราะคราวนี้เราจะพาทุกคนไปเที่ยวชมตามสถานที่สำคัญต่างๆ ให้ครบถ้วนภายในหนึ่งวัน ถ้าอยากรู้ว่าเราจะพาไปเที่ยวที่ไหนก็รีบตามกันมาเลย - See more at: http://www.thaiticketmajor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-1965.html#sthash.HaTfD0YO.dpuf
คุณ เคยมีความคิดฝันซักครั้งในชีวิตบ้างมั้ยว่าอยากจะเที่ยวไปตามสถานที่ สำคัญต่างๆ ให้ทั่วประเทศบ้าง แต่พอคิดอีกทีก็คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากซะเหลือเกิน เพราะต้องอาศัยทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อย่างเพิ่งถอดใจกันซะก่อน เพราะคราวนี้เราจะพาทุกคนไปเที่ยวชมตามสถานที่สำคัญต่างๆ ให้ครบถ้วนภายในหนึ่งวัน ถ้าอยากรู้ว่าเราจะพาไปเที่ยวที่ไหนก็รีบตามกันมาเลย - See more at: http://www.thaiticketmajor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-1965.html#sthash.HaTfD0YO.dpuf

สำหรับผมมีความฝันว่าในชีวิตผมอยากจะเที่ยวรอบโลก  โดยเริ่มจากในประเทศไทยเราก่อนนี้แหละคัฟ  แต่พอตื่นขึ้นมาก็รู้ว่าโอกาสที่จะไปเที่ยวได้ครบนั้นเป็นไปได้ยากมั่กๆๆ  เพราะต้องอาศัยเวลาและค่าใช้จ่ายเยอะแยะมากมาย  ทำให้ผมนึกถึงเมืองโบราณขึ้นมาเลยคัฟ  เพราะเป็นที่เดียวที่ผมจะสามารถเที่ยวชมสถานที่สำคัญต่างๆ ในประเทศเราให้ครบภายใน 1 วัน




เมืองโบราณ สมุทรปราการตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ ในประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2506 ปูชนียสถานที่สำคัญๆ เช่น เขาพระวิหาร ปราสาทหินพนมรุ้ง วัดมหาธาตุสุโขทัย พระพุทธบาทสระบุรี พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุไชยา ฯลฯโดย สร้างให้มีขนาดเล็กลง บางแห่งเท่าแบบจริงการสร้าง ฝีมือประณีต นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่นับวันจะสูญหายไปจาก สังคมยุคใหม่ ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของประเทศไทยจะศึกษาได้จากเมืองโบราณ แห่งนี้ นอกเหนือจากสถานที่ดังที่กล่าวมาแล้ว เมืองโบราณยังมีตลาดเก่า ซึ่งสร้างจำลองบรรยากาศของตลาดในอดีต มีทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่นิยมจะใช้เป็นที่พักในช่วงกลางวัน

การเดินทาง

ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือ รถโดยสารไปลงตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถวผ่านเมืองโบราณ



มาเถิงแว้ววววว



    อัตราค่าเข้าชมเมืองโบราณ 
ค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป (คนไทย)
บัตรคุ้มสยามผู้ใหญ่ (คนไทย) ***
เที่ยวชม (ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.)
บัตรคุ้มสยาม (ผู้ใหญ่) ท่านละ ๓๕๐ บาท (ราคานี้รวมรถราง จักรยาน และนั่งเรือ)
บัตรคุ้มสยามเด็ก (คนไทย) ***
เที่ยวชม(ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.)
บัตรคุ้มสยาม (เด็ก) ท่านละ ๑๗๕ บาท (ราคานี้รวมรถราง จักรยาน และนั่งเรือ)



พร้อมเที่ยวแว้วววว


ปั่นจักรยานชมเมืองโบราณกันแบบชิวๆ  เหนื่อยๆๆ 

พระบรมธาตุไชยา ถือว่าเป็นเจดีย์สถานอันศักดิ์สิทธิ์และสำคัญทางภาคใต้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์จันทิปวนะในประเทศอินโดนีเซีย เมืองโบราณได้สร้างพระบรมธาตุไชยาขึ้นตามแบบอย่างเก่าที่สุดที่พบในชวา องค์พระธาตุเป็นอาคารสี่เหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม มีเจดีย์จำลองอยู่ที่มุมทั้งสี่ ลวดลายประดับตกแต่งองค์พระบรมธาตุเกี่ยวข้องกับคติพุทธศาสนามหายาน เช่น รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รูปนางดารา ตามมุมบนที่องค์พระธาตุมีเกียรติมุขประดับองค์ระฆังตามคติที่นิยมกันในชวา

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18

พระบรมธาตุไชยา

ตลาดโบราณ เมืองโบราณ สินค้าต่างๆ ที่วางขายในตลาดโบราณก็มีมากมายหลายแบบ โดยมากก็จะเป็นสินค้าที่ระลึก เพื่อนำไปฝากญาติมิตร มีของกินเล่น นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าอันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและจำลองวิถีขีวิตของคนใน ชุมชนออกมาได้เป็นอย่างดี

ตลาดโบราณ

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม  หรือที่เรียกกันว่า  ตำหนักพระเจ้าเสือ

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม  จ.เพชรบุรี

ตลาดน้ำเมืองโบราณ สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในเมืองโบราณที่นอกเหนือจะ จำลองสภาพวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ ซึ่งเดินทางด้วยทางเรือเป็นหลัก นอกจากนั้นตลาดก็อยู่ริมน้ำและพายเรือขายในแม่น้ำลำคลอง ที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดที่จะพักหาข้าวกินในเมืองโบราณ

ตลาดน้ำเมืองโบราณ


เมืองโบราณนครชัยศรี หรือนครปฐมโบราณ เริ่มเป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ และเจริญรุ่งเรืองจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีการสร้างพระสถูปเจดีย์และโบราณวัตถุสถานต่างๆมากมายจนถึงเกิดรูปแบบทาง ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่เรียกว่า “วัฒนธรรมทวารวดี” สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรมทวารวดีก็คือ การสร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16

สวนขวา  เป็นส่วนหนึ่งของสวนขวาภายในพระบรมมหาราชวัง  ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสภายในพระบรมมหาราชวัง


ท้องพระโรงกรุงธนบุรี หรือพระราชวังเดิม ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์กองทัพเรือ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว แบบตรีมุข ตัวท้องพระโรงเป็นตึกสองหลังเชื่อมต่อกัน หลังแรกเป็นท้องพระโรงมีที่ประทับออกว่าราชการทำเป็นอัฒจันทร์ อาคารหลังที่สองเรียกว่า “พระที่นั่งขวาง” เป็นส่วน พระราชมณเฑียร ภายในห้องบรรทมของท้องพระโรงกรุงธนบุรี ณ เมืองโบราณแห่งนี้ มีภาพจิตรกรรม ฝาผนังเรื่องพงศาวดารกรุงธนบุรี ตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่ ๒ การกู้อิสรภาพ มาจนถึงการสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมได้ซึมซับในวีรกรรมและพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี

ท้องพระโรงกรุงธนบุรี



เรือนทับขวัญ  อยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์  จ. นครปฐม  เป็นเรือนหมู่ 8 หลัง แสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้านว่ามีฐานะดี



หอคำ ลำปาง คำว่า “หอคำ” เป็นภาษาทางเหนือ แปลว่า “หอทองคำ” หรือปราสาททอง อันเป็นที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนครลำปางสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลักษณะเป็นเรือนไม้เครื่องสับของทางภาคเหนือ สถานที่จริงนั้นได้ถูกรื้อไปแล้ว การสร้างหอคำในเมืองโบราณได้อาศัยลักษณะที่ปรากฏในรูปถ่าย โดยใช้ไม้ใหญ่ตามลักษณะความเป็นจริงที่ได้รับการบอกเล่าของผู้ที่เชื่อถือ ได้ เมืองโบราณได้ใช้หอคำแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุ อันเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากหลายสิ่ง  



 
อนุสรณ์สถานสงครามยุทธหัตถี


 เจดีย์จามเทวี ลำพูน เจดีย์องค์นี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์เหลี่ยมวัดกู่กุด สร้างในสมัยหริภุญไชยรูปทรงของเจดีย์มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ในซุ้มทุกชั้น ชั้นละ ๑๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปแบบผสมระหว่างศิลปะทวารวดีและศิลปะแบบอู่ทอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ตามตำนานกล่าวว่า พระฤาษีได้สร้างเมืองหริภุญไชยขึ้น แล้วส่งคนไปเชิญพระนางจามเทวีธิดากษัตริย์ละโว้ขึ้นมาครองเมืองหริภุญไชย เป็นการสืบสายวงศ์กษัตริย์โบราณไว้ พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมายังเมืองหริภุญไชยเมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๔ ครองราชย์อยู่นาน ๕๔ ปี

 เจดีย์จามเทวี ลำพูน

ศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17-19



พระธาตุบังพวน  ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจากอินเดีย มีประวัติกล่าวไว้ในตำนานอุรังคธาตุ ทำให้เชื่อได้ว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๘ พระธาตุองค์นี้สร้างด้วยอิฐ มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง ๔ ชั้น เรือนธาตุย่อมุมไม้ยี่สิบมีซุ้มจระนำ ๔ ด้าน หลังคาเรือนธาตุทำอย่างบัวถลา เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์มีองค์ระฆังสี่เหลี่ยมเป็นบัลลังก์อีก ๓ ชั้น จึงออกเป็นยอดสี่เหลี่ยมแหลม ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พระธาตุองค์นี้พังลงมา ทำให้ทราบว่าเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมมีซุ้มจระนำนั้น สร้างครอบเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมอย่างพระธาตุพนมเอาไว้ แล้วเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบบพระธาตุพนมครอบเจดีย์แลงไว้อีกชั้นหนึ่ง เจดีย์แลงนั้นรูปทรงสัณฐานเป็นอย่างไรไม่ทราบแน่ชัด
 

ศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 16-21

พระธาตุบังพวน


ด่านเจดีย์สามองค์  จ.กาญจนบุรี  



ปรางค์ยอดกลีบมะเฟือง    เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมรุ่นเก่าก่อนกรุงศรีอยุธยา นิยมทำกันในสมัยอู่ทองหรืออโยธยา ปรางค์องค์นี้ได้ถ่ายแบบมาจากปรางค์เล็กที่หน้าพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุสรร คบุรี ชัยนาท แสดงเทคนิคการก่อสร้างอันดีเยี่ยม รูปทรงของพระปรางค์ยอดกลีบมะเฟืองนี้นอกจากที่สรรคบุรีแล้ว ยังพบที่วัดมหาธาตุ ลพบุรีอีกด้วย
 

ปรางค์ยอดกลีบมะเฟือง



ศาลาพระอรหันต์ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ในส่วนรังสรรค์ ของเมืองโบราณ ส่วนรังสรรค์เป็นพื้นที่กว้างใหญ่อยู่ด้านซ้ายของเมืองโบราณหากมองจากแผนที่ ทางอากาศ ประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามมากมายหลายอย่าง ได้แก่ ศาลาทศชาติ สะพานรุ้ง ขบวนเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค เรือสำเภาไทย ฯลฯ


 ศาลาพระอรหันต์

หอพระแก้ว เมื่อชมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว มีถนนเชื่อมต่อไปยังสถานที่ต่อไปอีกหลายที่ ได้แก่พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท มณฑปพระพุทธบาท สระบุรี เป็นต้น แต่เราเลือกที่จะย้อนกลับมายังเรือนทับขวัญ แล้วมุ่งหน้าไปอีกเส้นทางหนึ่ง ผ่านอีกหลายๆ สถานที่ เช่นอนุสรณ์สถานสงครามยุทธหัตถี คุ้มขุนแผนซึ่งมีสะพานข้ามไปถึงพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทได้ อนุสรณ์สถานกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาท จนในที่สุดก็มาถึงหอพระแก้วซึ่งมีสะพานข้ามไปยังศูนย์บริการอาหารและห้องน้ำ แต่ตอนนี้ชมหอพระแก้วกันก่อน

หอพระแก้ว

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เป็นพระที่นั่งองค์สำคัญ ใช้เป็นท้องพระโรงว่าราชการที่ประทับ และที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญฯ ของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ เป็นปราสาททรงจตุรมุข สูงใหญ่เท่ากับพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ครั้งพระนครกรุงศรีอยุธยา โดยสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกเดิม ซึ่งต้องพระอสุนีบาตไฟไหม้ทั้งหลังนับเป็นปราสาททรงไทยแท้ที่สมบูรณ์เหลือ อยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย การสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในเมืองโบราณ ได้จากการรวบรวมค้นคว้าหลักฐานจากรูปภาพ จดหมายเหตุ พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ภายในพระที่นั่งที่ฝาผนังเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับพระราช กรณียกิจของรัชกาลที่ ๑ ในด้านต่างๆ ทั้งการปกครอง การศาสนา การสงครามและการติดต่อกับต่างประเทศ ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพแสดงพระราชพิธี ๑๒ เดือน ภาพต่างๆ เหล่านี้ได้สื่อให้ผู้เข้าชมได้มีความรู้และความเข้าใจความหมายของการ บูรณาการทางสังคม และวัฒนธรรมของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี 

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท



มณฑปพระพุทธบาทสระบุรี เป็นอีกสถาปัตยกรรมหนึ่งที่เมืองโบราณสร้าง จำลองขึ้นมาได้อย่างปราณีต รายละเอียดต่างๆ ถูกจัดวางลงในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่เพียงมณฑปเท่านั้น แต่ยังมีบันไดนาคซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของมณฑปพระพุทธบาทแห่งนี้อีก ด้วย



 สรรเพชญปราสาท เป็นพระที่นั่งโบราณสมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยหนีจากอิทธิพลของสถาปัตยกรรมขอมและไทยเหนือ ดังนั้นพระที่นั่งองค์นี้จึงเป็นที่รวมความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะ สถาปัตยกรรมอยุธยาเข้าไว้ด้วยกัน พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ ประกอบพระราชพิธีและรับแขกเมืองของพระมหากษัตริย์ เช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเป็นท้องพระโรงออกรับราชฑูต ต่อมาเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ถูกพม่าเอาไฟเผาทิ้งทั้งองค์เหลือแต่ซากฐาน เมืองโบราณได้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทขึ้น โดยค้นคว้าจากหลักฐานดั้งเดิมทั้งของไทยและของต่างชาติ เช่น จดหมายเหตุ ตำนาน พระราชพงศาวดาร ประกอบกับหลักฐานที่เหลือให้เห็นอย่างคร่าวๆ โดยมากำหนดเป็นผังขึ้น ประกอบกับหลักฐานจากภาพเขียน ไม้สลัก และโบราณวัตถุ สมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน และสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงใช้พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ณ เมืองโบราณ รับรองสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ ๒ และพระราชสวามี เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งในวันนั้นถือเป็นสิริมงคลและเป็นเสมือนวันเปิดเมืองโบราณต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการด้วย 

สรรเพชญปราสาท




วิหารวัดเชียงของ  จ. เชียงราย  วัดไทยทางเหนือแต่โบราณให้ความสำคัญกับวิหารมากกว่าโบสถ์ เพราะว่าวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประธานที่ศักดิ์สิทธิ์  ผู้คนมากราบไหว้และประกอบพิธีกรรมได้ทุกเวลา  จึงมักสร้างเป็นอาคารขนาดเล็ก

วิหารวัดเชียงของ  จ. เชียงราย

ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระวิหารในเทือกเขาพนมดงรัก ที่กั้นเขตแดน ไทย – กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ แห่งเขมร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๑ ลักษณะสถาปัตยกรรม เริ่มตั้งแต่ทางลาดต่ำเชิงเขาเป็นทิวขึ้นไปจนถึงผาชันสุด มีปราสาทตั้งเรียงรายอยู่ ๔ ระดับ ทำเป็นอาคารหลังคาทรงจั่ว ไม่มีเรือนยอดอย่างปราสาท ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า มณเฑียร ปลายสุดของหน้าผามีชะง่อนหินยื่นออกไป ใต้ชะง่อนหินใช้เป็นที่พักอาศัยได้ เรียกว่า เป้ยตาดี ปัจจุบันนี้เขาพระวิหารอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศกัมพูชา เขาพระวิหารในเมืองโบราณนี้ เป็นเขาที่สร้างขึ้น สูง ๕๔ เมตร ยาว ๒๕๐ เมตร กว้าง ๖๖ เมตร ใช้เสารับ ๖๘๔ ต้น ใช้หินธรรมชาติที่ประกอบเป็นเขาถึง ๒,๔๐๐ เที่ยวรถสิบล้อ ใช้ดินที่ขุดมาจากเนื้อที่ ๔๐ ไร่ปกคลุม ขนาดของเขาย่อส่วนลงมาประมาณ ๑ ใน ๑๐ ส่วน ปราสาทย่อขนาดมาเป็น ๑ ใน ๓ ของสถานที่จริง จากยอดเขาพระวิหารท่านจะสามารถชมทิวทัศน์ของเมืองโบราณได้อย่างทั่วถึง







ปราสาทหินพนมรุ้ง



 เรือสำเภา  เคยจอดเทียบท่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่ปากน้ำ  มาจนถึงกรุงเทพฯ  เรือแบบนี้ค่อยๆ หมดไปเมื่อราวหลังสมัยรัชกาลที่  3  เป็นต้นมา   ใช้ค้าขายสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา

เรือสำเภา


 วัดจองคำ  อาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง  วิหาร  ศาลา  กุฎิ  รวมอยู่ในชุดเดียวกันหมด  หลังคาเป็นชั้นๆ ซ้อนเป็นทรงสูงต่อยอดหอทรงแปลก

วัดพระธาตุจองคำ


อากาศดีมั่กๆ ค้าฟตอนเย็นๆ ผมได้เที่ยวเกือบทุกภาคของประเทศไทยแว้ว 
ด้วยเงินเพียง  350 บาท 



 @เมืองโบราณ  25-1-15


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น